วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันวิสาขบูชา

วิสาขบูชา






วันวิสาขบูชา มายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะหรือเดือน ๖
เนื่องในโอกาสวันประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า








พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพานเวียนมาบรรจบในวันและเดือนเดียวกัน คือ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ จึงถือว่าเป็นวันที่สำคัญของพระพุทธเจ้า หลักธรรมอันเกี่ยวเนื่องจากกาประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ความกตัญญู อริยสัจ ๔ และความไม่ประมาท


ประสูติ...
พระเจ้าสุทโธทนะมีพระอัครมเหสีทรงพระนามว่า มหามายาเทวี ทั้งสองพระองค์ทรงอยู่ร่วมกันมาด้วยความผาสุก จนกระทั่งพระเทวีทรงมีพระครรภ์ เมื่อพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระสวามี ให้แปรพระราชฐานไปประทับที่กรุงเทวทหะเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ก็เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมสมัยนั้น ๑ พระเทวีเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์พร้อมด้วยข้าราชบริพารในเวลาเช้า ของวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี เมื่อขบวนเสด็จผ่านมาถึงสวนลุมพินี ๒ อันตั้งอยู่กึ่งกลางทางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะต่อกัน พระนางทรงมีพระประสงค์จะประพาสอุทยาน ข้าราชบริพารจึงเชิญเสด็จแวะไปประทับพักผ่อนอิริยาบถใต้สาละ ๓ ขณะประทับอยู่ที่สวนลุมพินีนั้น พระนางได้ประสูติ พระโอรสภายใต้ต้นสาละ เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทราบข่าวประสูติ จึงตรัสสั่งให้เชิญเสด็จ พระนางพร้อมด้วยพระราชกุมารกลับคืนกรุงกบิลพัสดุ์โดยด่วนสวนลุมพินีข่าวประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส๔ ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย ดาบสท่านนี้มีความคุ้นเคยกับราชสำนักของพระเจ้าสุทโธทนะ พอทราบข่าวประสูติของพระราชกุมาร ดาบสจึงลงจากเขาเข้าไปเยี่ยมเยียนราชสำนัก ท่านมีความรู้เกี่ยวกับการทำนายมหาปุริสลักษณะ พอเป็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย"๕ แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส

เมื่อพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะโปรดให้ประกอบพิธีเฉลิมฉลองรับขวัญ และขนานพระนาม โดยเชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คนผู้เชี่ยวชาญไตรเพทมาบริโภคโภชนาหาร ที่ประชุมของพราหมณ์ได้ถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมประสงค์" กล่าวคือพระราชกุมารจะทรงปรารถนาสิ่งใด ก็จะได้สิ่งนั้นตามความปรารถนา คนส่วนมากมักเรียกพระองค์ตามชื่อโคตรว่า "โคตมะ"

ต่อจากนั้นพราหมณ์ ๘ คน ๖ ผู้รู้การทำนายลักษณะได้ตรวจสอบลักษณะของพระกุมารแล้ว พบว่าพระกุมารมีลักษณ์มหาบุรุษ ๓๒ ประการ ๗ จึงให้คำทำนายชีวิตในอนาคตของพระกุมาร พราหมณ์ ๗ คน ทำนายว่าพระสิทธัตถราชกุมารนี้ ถ้าอยู่ครองเพศฆราวาสจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แต่ถ้าออกผนวช จะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศาสดาเอกของโลก แต่พราหมณ์คนที่ ๘ ชื่อว่าโกณฑัญญะให้คำทำนายยืนยันหนักแน่นเป็นคติเดียวว่า พระกุมารจะต้องออกผนวชและตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อจากนั้น ที่ประชุมของพราหมณ์ได้ถวายพระนามแก่พระกุมารว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา" หมายความว่า "ผู้สร้างความสมปรารถนาแก่ชาวโลกทั้งปวง" ๘




ตรัสรู้...
ในเวลาเช้าของวันเพ็ญเดือน ๖ พระสิทธัตถะประทับนั่งใต้โคนต้นไทร นางสุชาดานำถาดอาหารมาเพื่อแก้บนรุกขเทวดาประจำต้นไทร พบพระสิทธัตถะก็เข้าใจว่าเป็นเทวดานั่งรอเครื่องพลีกรรม จึงนำข้าวมธุปายาสไปถวายทั้งถาด พระสิทธัตถะรับของถวายแล้วถือถาดไปยังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา สรงสนานพระวรกายแล้วขึ้นมาประทับนั่งเสวยข้าวมธุปายาสจำนวน ๔๙ ปั้นจนหมด จากนั้นเสด็จไปประทับในดงไม้สาละ จนเวลาเย็นจึงเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ ทรงปูลาดหญ้าคา ๘ กำที่โสตถิยพราหมณ์ถวายในระหว่างทางลงใต้ต้นมหาโพธิ์ ประทับนั่งขัดสมาธิ ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก หันประปฤษฎางค์เข้าหาต้นมหาโพธิ์ ทรงอธิษฐานว่า "แม้เนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไป เรายังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณตราบใด จะไม่ลุกขึ้นจากที่นี่ตราบนั้น"๑

จากนั้น ทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ ๔ แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน ๓ คือ ในยามที่หนึ่งของคืนนั้นทรงได้ปุพเพนิวาสนุสติญาณ คือ ระลึกชาติปางก่อนของพระองค์เองได้ ในยามที่ ๒ ทรงได้จุตูปปาตญาณ คือมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย แ
ละในยามสุดท้าย ทรงได้อาสวักขยญาณ คือตรัสรู้อริยสัจ ๔ ว่าอะไรคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ความรู้นี้ทำให้กิเลสาสวะหมดสิ้นไปจากจิตใจ

พระพุทธเจ้าตรัสเล่าถึง สภาพจิตของพระองค์ขณะเข้าถึงความหลุดพ้นไว้ว่า
"เมื่อเรารู้เห็น (อริยสัจ ๔) อย่างนี้ จิตจึงหลุดพ้นทั้งจาก กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว เราได้มีญาณหยั่งรู้ว่า ตัวเองหลุดพ้นแล้ว เรารู้แจ่มชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์จบแล้ว ทำหน้าที่สำเร็จแล้ว ไม่มีอะไรให้เป็นอย่างนี้อีกแล้ว"๒

พระองค์ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลาที่แสงเงินแสงทองเริ่มจับขอบฟ้า รวบระยะเวลาที่บำเพ็ญเพียรตั้งแต่ออกผนวชจนตรัสรู้ได้ ๖ ปี ขณะที่ตรัสรู้พระองค์มีพระชนมายุ ๓๕ พรรษา

"พระเจดีย์ ศรีมหาโพธิ์-พุทธคยา" ที่ประทับตรัสรู้ตั้งอยู่ที่ ตำบลพุทธคยา อำเภอคยา จังหวัดคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย มีลักษณะเป็นรูปเจดีย์ ๔ เหลี่ยมสูง ๑๗๐ ฟุต วัดโดยรอบฐาน ๑๒๑.๒๙ เมตร มีรูปทรงเรียวรี สมส่วน สง่างาม ประทับตา ประทับใจแก่ทุกท่านที่ได้เห็นและน้อมนมัสการเป็นอย่างมาก เดิมนั้น บริเวณพุทธคยา ที่ประทับตรัสรู้ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้สร้างเป็นมหาวิหารที่สง่างามและใหญ่โต ทั่วรัฐพิหาร ซึ่งเป็นรัฐที่กว้างใหญ่รัฐหนึ่งของอินเดีย มีพลเมืองถึง ๖๐ ล้านเศษ (มากกว่าจำนวนพลเมืองในประเทศไทย ทั้งประเทศ) ในยุคสมัยพระพุทธศาสนารุ่งเรือง ต่างก็ได้สร้าง "วิหาร" ไว้อย่างมากมายเต็มทั่วทั้งรัฐ มีลักษณะเหมือนเมืองไทยเราสร้างวัดไว้อย่างมากมาย ไปบ้านไหนเมืองใดก็จะพบแต่วัดที่สวยงาม ดังนั้น "รัฐพิหาร" ของอินเดียในปัจจุบันที่ได้นามนี้เป็นชื่อรัฐ ก็เพราะรัฐนี้มี "วิหาร" เต็มทั่วไปหมด

เมื่อปีพุทธศักราช ๖๙๔ กษัตริย์ชาวพุทธ พระนามว่า "หุวิชกะ" ได้พิจารณาเห็นความสำคัญของพระพุทธศสานาและเพื่อเป็นศูนย์รวมศรัทธา ในฐานะที่พุทธศาสนาและเพื่อเป็นศูนย์รวมศรัทธา ในฐานะที่พุทธคยาเป็นพุทธสถานต้นกำเนิดพระพุทธศาสนาจึงได้ให้ช่างออกแบบสร้าง "เจดีย์ศรีมหาโพธิ์พุทธคยา" เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นรูปเจดีย์สี่เหลี่ยมทรงรีสวยงาม สร้างเป็น ๒ ชั้น ชั้นล่างเป็นที่กราบน้อมนมัสการ ชั้นบนเป็นห้องภาวนาเพื่อสงบจิตใจ

เนื่องจากองค์พระเจดีย์มีอายุยืนนาน ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์โดยลำดับมา เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๑๙ (๕ ธันวาคม ๒๕๑๙) คณะกรรมการองค์พระเจดีย์ได้ขอร้องให้ พระธรรมมหาวีรานุวัตร (บุญเลิศ ท. คล่องสั่งสอน) เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา และหัวหน้าพระธรรมฑูตไทย-ในอินเดีย (ในสมัยนั้น) ในนามชาวพุทธไทยบูรณะชั้นบนองค์พระเจดีย์ (สร้างเป็นห้องไทย) และช่วยสร้างกำแพงแก้วรอบองค์พระเจดีย์ทั้งหมด ๘๐ ช่องพร้อมทั้งซุ้มประตูศิลปแบบอโศก ๒ ซุ้ม ทำให้องค์พระเจดีย์ได้รับการดูแลสะอาดเรียบร้อยดีงามขึ้น ส่วนยอดองค์พระเจดีย์ (ตรัสรู้) ชาวพุทธไทยได้ขอติดตั้งไฟแสงจันทร์ให้งามสว่างไสว แก่องค์พระเจดีย์มาจนบัดนี้



ปรินิพพาน...

พรรษาที่ ๔๕ เป็นพรรษาสุดท้ายของพระพุทธเจ้าผู้มีพระชนมายุในขณะนั้นได้ ๘๐ พรรษา ในพรรษานี้พระองค์ได้เสด็จประทับจำพรรษา ณ เวฬุวคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างพรรษานี้ พระองค์ทรงประชวรอย่างหนัก มีความเจ็บปวดอย่างรุนแรงถึงกับจะปรินิพพาน แต่พระองค์ทรงระงับความเจ็บปวดทรมานด้วยการเข้าเจโตสมาธิอันไร้นิมิต ในวันเพ็ญเดือนสามภายหลังพรรษานั้น พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับ ณ ปาวาลเจดีย์ ตรัสบอกพระอานนท์ว่า พระองค์ได้ตัดสินพระทัยว่าจะปรินิพพานในเวลา ๓ เดือนนับแต่วันนั้น การตัดสินพระทัยเช่นนี้เรียกว่า ปลงพระชนมายุสังขาร

ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา พระพุทธองค์เสด็จออกจากเมืองเวสาลีแสดงธรรมในที่ต่าง ๆ จนถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๖ เหลืออีกเพียง ๑ วันจะครบ ๓ เดือน พระองค์เสด็จถึงเมืองปาวา ประทับอยู่ในสวนมะม่วงของนายจุนทะ ทรงแสดงธรรมโปรดนายจุนทะให้ได้บรรลุโสดาปัตติผล และนายจุนทะได้อาราธนาพระพุทธองค์ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ไปฉันภัตตาหารที่บ้านของตนในวันรุ่งขึ้น พระพุทธองค์ทรงรับอาราธนาัวั
นรุ่งขึ้นตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ เสด็จไปฉันภัตตาหารที่บ้านนายจุนทะ ซึ่งเป็นการรับบิณฑบาตครั้งสุดท้าย พระองค์ฉันสูกรมัททวะ๑ ที่นายจุนทะทำถวาย ทรงห้ามมิให้ภิกษุอื่นฉันสูกรมัททวะนั้น หลังจากอนุโมทนาแล้ว เสด็จออกจากบ้านนายจุนทะ ในระหว่างทางทรงประชวรหนักขึ้นถึงลงพระโลหิต แต่ทรงบรรเทาทุกขเวทนานั้นด้วยกำลังอธิวาสนขันติและฌานสมาบัติ เสด็จเดินทางต่อไป ทรงพักเหนื่อยเป็นระยะ ๆ จนลุถึงเมืองกุสินารา เสด็จเข้าไปยังดงไม้สาละ รับสั่งให้ปูลาดเสนาสนะ ระหว่างไม้สาละคู่หนึ่งแล้วเสด็จบรรทมสีหไสยาโดยมิได้คิดจะลุกขึ้นอีก เวลานั้นต้นสาละทั้งคู่ผลิดอกบานเต็มต้นโปรยดอกหล่นต้องพระพุทธสรีระ ประดุจเป็นการบูชาพระพุทธองค์

เมืองกุสินาราขณะประทับในอิริยาบถนั้น ทรงแสดงธรรมตลอดเวลาทรงแนะนำพระอานนท์ให้ปฏิบัติต่อพุทธสรีระ เช่นเดียวกับการปฏิบัติพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิ ในคืนนั้นสุภัททปริพาชกได้ขอเข้าเฝ้าทูลถามปัญหาต่าง ๆ พระองค์ทรงตอบปัญหาให้เป็นที่พอใจ สุภัททปริพาชกเลื่อมใสทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระองค์ทรงอนุญาตการอุปสมบทให้เป็นพิเศษ สุภัททะจึงได้บวชเป็นพระภิกษุ นับเป็นสาวกองค์สุดท้าย อันนี้เป็นหลักฐานยืนยันว่าพระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญพุทธกิจจนนาทีสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ
จากนั้น พระพุทธองค์ทรงเปล่งวาจาเป็นปัจฉิมโอวาทว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังประโยชน์ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด"๒ สิ้นพระสุรเสียงนี้ก็มีแต่ความเงียบสงบ พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานในยามสุดท้ายแห่งคืนพระจันทร์เต็มดวงของเดือนวิสาขะ๓
พระพุทธเจ้าประสูติกลางดินภายใต้ต้นสาละในวันเพ็ญเดือนหก ตรัสรู้กลางดินภายใต้ต้นมหาโพธิ์ในวันเพ็ญเดือนหก และปรินิพพานกลางดินภายใต้ต้นสาละในวันเพ็ญเดือนหก



ประวัติความเป็นมาของวันวิสาขบูชาในประเทศไทย

วันวิสาขบูชา ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่า คงจะได้แบบอย่าง มาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๔๒๐ พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่าง มโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกา ในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ทรงดำเนินรอยตาม
แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอย

ู่ สมัยสุโขทัยนั้น ประเทศไทยกับประเทศลังกามีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกันมาก เพราะพระสงฆ์ชาวลังกา ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่า ได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย ในหนังสือนางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้
พอสรุปใจความได้ว่า

" เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน
ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุก หมู่บ้านทุกตำบล ต่างช่วยกันทำความสะอาด
ประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษ ด้วยดอกไม้ของหอม
จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย
เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล
และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ
ครั้นตกเวลาเย็น ก็เสด็จพระราช ดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์
ต ลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ไปยังพระ อารามหลวง
เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน ส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา
ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาต แด่พระภิกษุ สามเณร
บริจาคทรัพย์แจกเป็นทานแก่คนยากจน คนกำพร้า คนอนาถา คนแก่ คนพิการ
บางพวกก็ชวนกันสละทรัพย์ ปล่อยสัตว์ ๔ เท้า ๒ เท้า และเต่า ปลา เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ
โดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุ ยืนยาวต่อไป "


ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ด้วยอำนาจอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ เข้าครอบงำประชาชนคนไทย
และมีอิทธิพลสูงกว่าอำนาจของพระพุทธศาสนา จึงไม่ปรากฎหลักฐานว่า
ได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา
จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๖๐)
ทรงดำริกับ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟู
การประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่
โดย สมเด็จพระสังฆราช ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรก
ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ. ๒๓๖๐
และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ
เพื่อมีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศล เป็นหนทางเจริญอายุ
และอยู่เญ็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และอุปัทวันตรายต่างๆ โดยทั่วหน้ากัน

ฉะนั้น การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย
จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
และถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน
การจัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุคทุกสมัย
คงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา พ.ศ.๒๕๐๐
ซึ่งทางราชการเรียกว่างาน " ฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ "
ตั้งแต่วันที่ ๑๒ ถึง ๑๘ พฤษภาคม รวม ๗ วัน
ได้จัดงานส่วนใหญ่ขึ้นที่ท้องสนามหลวง
ส่วนสถานที่ราชการ และวัดอารามต่างๆ ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระราชอาณาจักร
ประชาชนถือศีล ๕ หรือศีล ๘ ตามศรัทธาตลอดเวลา ๗ วัน
มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์รวม ๒,๕๐๐ รูป
ประชาชน งดการฆ่าสัตว์ และงดการดื่มสุรา
ตั้งแต่วันที่ ๑๒ ถึง ๑๔ พฤษภาคม รวม ๓ วัน
มีการก่อสร้าง พุทธมณฑล จัดภัตตาหาร เลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ ๒,๕๐๐ รูป
ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชน วันละ ๒๐๐,๐๐๐ คน เป็นเวลา ๓ วัน
ออกกฎหมาย สงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้น รวมถึงการฆ่าสัตว์ และจับสัตว์ในบริเวณวัด
และหน้าวัดด้วย และได้มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ อย่างพร้อมเพรียงกัน
เป็นกรณีพิเศษ ในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย









การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา แบ่งออกเป็น 3 พิธีคือ
1. พิธีหลวง (พระราชพิธี)
2. พิธีราษฎร์ (พิธีของประชาชนทั่วไป)
3. พิธีของพระสงฆ์ (คือพิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจเนื่องในวันสำคัญวันนี้)













การประกอบพิธีและบทสวดมนต์ในวันวิสาขบูชา ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการประกอบพิธีในวันมาฆบูชา ขอได้โปรดศึกษาลำดับขั้นตอนจากการประกอบพิธีในวัน
มาฆบูชาข้างต้น มีแต่คำบูชาเท่านั้นที่แตกต่างกัน ขอนำมาแสดงให้เห็นดังนี้


พุทธกิจ 5 ประการ
1. ตอนเช้า เสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ คือเสด็จไปโปรดจริง
เพราะทรงพิจารณาเห็นตอนจวนสว่างแล้วว่าวันนี้มีใครบ้างที่ควรไปโปรดทรงสนทนา
หรือแสดงธรรมให้ละความเห็นผิดบ้าง ทรงส่งเสริมผู้ปฏิบัติชอบอยู่แล้วให้ปฏิเสธชอบบ้าง เป็นต้น
2. ตอบบ่าย ทรงแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนที่มาเฝ้า ณ ที่ประทับ
ซึ่งปรากฏว่าไม่ว่าพระองค์จะประทับอยู่ที่ใด ประชาชนทุกหมู่ทุกเหล่าตลอดถึง
ผู้ปกครอง นครแคว้นจะชวนกันมาเฝ้าเพื่อสดับตับพระธรรมเทศนาทุกวันมิได้ขาด
3. ตอนเย็น ทรงเเสดงโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ทั้งมวลที่อยู่ประจำ
ณ สถานที่นั้นบางวันก็มีภิกษุจากที่อื่นมาสมทบด้วยเป็นจำนวนมาก
4. ตอนเที่ยงคืน ทรงแก้ปัญหาหรือตอบปัญหาเทวดา หมายถึง เทพพวกต่าง ๆ
หรือกษัตริย์ซึ่งเป็นสมมติเทพผู้สงสัยในปัญหาและปัญหาธรรม
5. ตอนเช้ามืด จนสว่าง
ทรงพิจารณาสัตว์โลกที่มีอุปนิสัยที่พระองค์จะเสด็จไปโปรดได้แล้วเสด็จไปโปรดโดยการ
ไปบิณฑบาตดังกล่าวแล้วในข้อ 1 โดยนัยดังกล่าวมานี้พระพุทธองค์ทรงมีเวลาว่าอยู่เพียงเล็กน้อย
ตอนเช้าหลังเสวยอาหารเช้าแล้วแต่ก็เป็นเวลาที่ต้องทรงต้อนรับอาคันตุกะ ผู้มาเยือนอยู่เนือง ๆ
เสวยน้อย บรรทมน้อย แต่ทรงบำเพ็ญพุทธกิจมาก ตลอดเวลา 45 พรรษา
นั้นเองประชาชนชาวโลกระลึกถึงพระคุณของพระองค์ดังกล่าวมาโดยย่อนี้ จึงถือเอาวันประสูติ
ตรัสรู้และปรินิพพานของพระองค์เป็นวันสำคัญ
จัดพิธีวิสาขบูชาขึ้นในทุกประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา
สำหรับพิธีการต่าง ๆ ก็เหมือนกับที่กล่าวแล้วในวันวิสาขบูชา
ประเพณีวันวิสาขบูชานี้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและได้เสื่อมสูญไป
จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้ทรงฟื้นฟูประเพณีนี้ขึ้นและปฏิบัติมาจนทุกวันนี้






กิจกรรมของวันวิสาขบูชา

๑. ทำบุญใส่บาตร







๒. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ








๓. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม และฟังพระธรรมเทศนา










๔. ไปเวียนเทียนที่วัด